การดำเนินการด้านสันติภาพ

Page Number T4001299  Updated on  March 28, 2018  Print

การดำเนินการด้านสันติภาพ

วันสันติภาพของเมืองทาคายาม่า

เมืองทาคายาม่าเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติเพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทั่วโลกมาเยือน ดังคำขวัญโดยองค์การสหประชาชาติที่ว่า “การท่องเที่ยวคือหนังสือเดินทางสู่สันติภาพ” การส่งเสริมความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยอาศัยการแลกเปลี่ยนกัน จึงมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสันติภาพโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายนเป็น “วันสันติภาพโลก” และจากข้อเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการด้านสันติภาพโลก จึงได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายน ค.ศ.2013 เป็น “วันสันติภาพของเมืองทาคายาม่า”

ความผูกพันต่อสันติภาพ

ความผูกพันต่อสันติภาพ (ภาพถ่าย)

เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพของเมืองทาคายาม่า เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2014 จึงได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ที่ลานหน้าอาคารที่ว่าการของเทศบาลด้วยแนวความคิดพื้นฐานคือ “ความผูกพัน” ซึ่งจะสื่อให้เห็นถึง “การประสานกัน” (ความผูกพันระหว่างคนกับคน) “ความอบอุ่น” (ความผูกพันระหว่างคนกับธรรมชาติ) และ “การแพร่ขยาย” (ความผูกพันระหว่างเมืองกับเมือง)

ประกาศให้ทาคายาม่าเป็นเมืองแห่งสันติภาพ


เมื่อวันที่ 24 เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 เมืองทาคายาม่าได้ประกาศเป็นเมืองแห่งสันติภาพ โดยชาวเมืองทาคายาม่าได้แสดงเจตนารมณ์ออกไปในและนอกประเทศที่จะสืบสานความสำคัญของสันติภาพให้แก่คนรุ่นต่อไป และจะทำเพื่อให้เกิดสันติภาพโลก เพื่อมุ่งสร้างสรรค์สังคมที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างอุ่นใจ ไร้ซึ่งสงคราม

วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2017
ประกาศ

ทาคายาม่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งงานหัตถศิลป์และงานเทศกาล ซึ่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแห่งเทือกเขาฮิดะอันเลื่องชื่อ เราจึงให้ความสาคัญต่อความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่แวดล้อมในฐานะ “เมืองท่องเที่ยวในระดับสากล”
ยิ่งไปกว่านั้น เรายังกาหนดให้วันสันติภาพสากลเป็น “วันสันติภาพของเมืองทาคายาม่า” โดยเรียกร้องให้ทั่วโลกสร้างสันติภาพขึ้นอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากภูมิภาคฮิดะทาคายาม่า (Hida Takayama)
แต่ในความเป็นจริง ทุกแห่งทั่วโลกล้วนต้องเผชิญต่อความขัดแย้ง -การก่อการร้าย -ความอดยากและการคุกคามจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์เรื่อยมา
เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในสักวันหนึ่งคนในโลกใบนี้จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและสันติสุขจะบังเกิดขึ้นจริง
เราจะเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมาและส่งต่อไปยังอนาคต
ทั้งความน่ากลัว ความโง่เขลา และความทุกข์ยากจากสงครามและอาวุธนิวเคลียร์ ตลอดจนความสาคัญของชีวิต
เราจะรักษาธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ วัฒนธรรมประเพณีอันน่าภาคภูมิใจ และสายสัมพันธ์อันดีของผู้คนไว้
เราจะให้ความสาคัญต่อ
ความเข้าใจและการเคารพในวัฒนธรรมอันหลากหลาย
พวกเราชาวเมืองทาคายาม่าขอประกาศให้เมืองทาคายาม่าแห่งนี้เป็นเมืองแห่งสันติภาพตราบนานเท่านาน

ความเป็นมาของการดำเนินการ

  • เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 ได้เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยสันติภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเพื่อสร้างสันติภาพโลกอย่างยั่งยืน
  • ได้ลงข้อความที่จะมุ่งสร้างโลกแห่งสันติภาพไว้ในข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับเมืองซิบิว(ประเทศโรมาเนีย) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 และกับเมืองอูรูบัมบา(สาธารณรัฐเปรู) เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 อีกทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับเมืองในต่างแดนเช่น เมืองพี่เมืองน้องเมืองเดนเวอร์(ประเทศสหรัฐอเมริกา) และเมืองพี่เมืองน้องเมืองลี่เจียง(ประเทศจีน)
  • เดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายน ซึ่งเป็น “วันสันติภาพโลก” ให้เป็น “วันสันติภาพของเมืองทาคายาม่า”
  • เดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ได้สร้างอนุสาวรีรย์ “ความผูกพันต่อสันติภาพ” ไว้ที่หน้าอาคารที่ว่าการของเทศบาลเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพของเมืองทาคายาม่า โดยทุกปีในตอนเที่ยงของวันที่ 21 กันยายน ซึ่งเป็น “วันสันติภาพของเมืองทาคายาม่า” และ “วันสันติภาพโลก” นั้น จะจัดให้มีการตีระฆังพร้อมเพรียงกันโดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาล วัดทั้งในและนอกเมือง
  • เดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 จัดให้มี “การประชุมซัมมิทสันติภาพของเมืองทาคายาม่า” โดยเทศมนตรีเมือง 3 ท่านได้แก่  เทศมนตรีเมืองทาคายาม่า มร. มิจิฮิโระ คุนิชิมะ ซึ่งได้เชิญเทศมนตรีเมืองฮิโรชิม่า มร.คาซูมิ มะสึอิ และเทศมนตรีเมืองนางาซากิ มร. โตมิฮิสะ ทาอูเอะ มาที่เมืองทาคายาม่า
  • เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ใน “การประชุมซัมมิทสันติภาพของเมืองทาคายาม่า” ณ สวนสันติภาพเด็กได้มีการปลูกต้นไม้ที่ถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์(ต้นฟินิกซ์) ประจำเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งได้รับมาจากการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยสันติภาพ(ประธานในที่ประชุม : เทศมนตรีเมืองฮิโรชิม่า)

ความเป็นมาของการดำเนินการ (ภาพถ่าย)

ความเป็นมาของการดำเนินการ (ภาพถ่าย)


Adobe Reader เป็นสิ่งจำเป็นในการดูไฟล์ PDF หากคุณไม่มี Adobe Reader กรุณาดาวน์โหลด (ฟรี) จากเว็บไซต์ของบริษัท Adobe Systems (เปิดลิงค์ในหน้าต่างใหม่)